พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค 4.0 กระทบต่อระเบียบวิธีดำเนินการ วิจัยตลาด (Market Research) ของ บริษัทวิจัยตลาด (Research Company) เป็นอย่างมาก กล่าวคือ
การตลาดก่อน ยุค 4.0 ผู้บริโภคมักเป็นฝ่ายรับข้อเสนอ รับสินค้าหรือบริการจากบริษัทผู้ผลิต หรือเจ้าของแบรนด์ กล่าวได้ว่าเป็นฝ่ายตั้งรับฝ่ายเดียวเบ็ดเสร็จ (Passive Consumer) เมื่อเข้าสู่ยุค 4.0 ผู้บริโภคกลายมาเป็นผู้คิดค้น ออกแบบ ผลิตและนำเสนอด้วย นั่นคือเป็นฝ่ายรุกมากขึ้น (Active) ผู้บริโภคมีบทบาทร่วมสร้างสรรค์ ร่วมนำเสนอความเป็นมือ อาชีพ มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาสิ่งใหม่ให้ตัวเอง มีการสร้างขั้นตอน ระบบการบริโภคใหม่ด้วยตนเอง หาคำตอบในทุกคำถามด้วยตัวเองผ่านเครื่องมือสื่อสารบนระบบออนไลน์
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการซื้อ การบริโภคที่เปลี่ยนไป ข้อมูล ข่าวสารบนสื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ผู้บริโภคไม่ ใส่ใจในเรื่องการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อมากนัก นอกจากนั้นผู้บริโภคในยุค 4.0 มีลักษณะชอบลองของใหม่ไม่ค่อยมีความภักดีมากเช่นเดิม ผู้บริโภคมี ความอดทนต่ำและพร้อมที่จะเปลี่ยนใจทุกเมื่อ อีกทั้งความเหลื่อมล้ำแตกต่างด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีอิทธิพลลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสแสวงหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อในระดับเดียวกัน นอกจากนั้น ยังพบผู้บริโภคใน ยุค 4.0 มีความเป็นมืออาชีพ ฉลาด รอบรู้ หาคา ตอบในทุกคำถามด้วยตนเอง
จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคดังกล่าวทำให้กระทบต่อระเบียบวิธีบางประการของการดำเนินการ วิจัยตลาด(Market Research)ของ บริษัทวิจัยตลาด (Research Company) ต่างๆด้วย บริษัทวิจัย ต่างๆเกิดความเข้าใจและเห็นแง่มุมที่สามารถนำมาพัฒนาวิธีการที่เข้าถึงข้อมูลจาก ผู้บริโภคยุค 4.0 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นคือ การพยายามสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ ข้อมูลที่ได้มักเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยผ่านระบบออนไลน์นี้มีข้อดีนานัปการ ทั้งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคผู้ให้ข้อมูล(Respondents) และสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์ในแง่ เวลา และงบประมาณที่ใช้ในการวิจัยด้วย